รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน จนถึง 31 มกราคม พ.ศ. 2567
บทความวันที่ 9 ม.ค. 2564 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 934 ครั้ง
บทความวันที่ 9 ม.ค. 2564 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 934 ครั้ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ
และชำระภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก
8 วัน จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา
3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากรขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
การชำระภาษี และการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน
บัญชีรายรับ รายจ่าย หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต
แห่งประมวลรัษฎากร ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่กรณี และแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
โดยกำหนดให้ยื่นรายการในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 ดังนี้
1. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่
(1) ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.95
ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่
8 เมษายนของปีถัดไป
(2) ภ.ง.ด.94
ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่
8 ตุลาคมของทุกปี
กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
และได้รับสิทธิผ่อนชำระ 3 งวด ตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
จะต้องผ่อนชำระภายในกำหนดเวลา ดังนี้
- งวดที่หนึ่ง
ต้องชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไป
- งวดที่สอง ต้องชำระภายในหนึ่งเดือน
นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่ง
- งวดที่สาม ต้องชำระภายในหนึ่งเดือน
นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง
หากไม่ชำระงวดใดงวดหนึ่งภายในเวลาที่กำหนดไว้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็นรายงวดต่อไป
และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับงวดที่ไม่ชำระและงวดต่อ
ๆ ไป โดยคำนวณเงินเพิ่มตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไปนั้นจนถึงวันชำระ
2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่
(1) ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.52 และ ภ.ง.ด.55
และบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย
หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่กรณี ซึ่งต้องยื่นภายใน 150 วัน
นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 158
วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
(2) ภ.ง.ด.51
ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6
เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าว เป็นภายใน 2
เดือน 8 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน
นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
(3) ภ.ง.ด.54
ซึ่งต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
หรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ให้ขยายกำหนดเวลาออกไปเป็นภายใน 15 วัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
3.
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2 ภ.ง.ด.3 และ
ภ.ง.ด.53 ซึ่งต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน
15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
4.
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.1 ก
ซึ่งต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป
ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 มีนาคมของปีถัดไป
5.
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.2 ก ภ.ง.ด.3 ก
ซึ่งต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ของปีถัดไป
6. แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
ได้แก่
(1) ภ.พ.30
ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
(2) ภ.พ.36
ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
(กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร
ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว
หรือผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร)
ของเดือนที่ขายทอดตลาด
(กรณีผู้ทอดตลาดซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
หรือของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
(กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการตามมาตรา 83/7
แห่งประมวลรัษฎากร) ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 15 วัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการของเดือนที่ขายทอดตลาด
หรือของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
แล้วแต่กรณี
7. แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
ได้แก่ ภ.ธ.40 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
8.
แบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งต้องยื่นภายใน
150 วัน
นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 158
วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่จะได้รับสิทธิขยายกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติ และฉบับเพิ่มเติมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น หากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติในรูปแบบของกระดาษ แม้ต่อมาจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกครั้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะไม่ได้รับสิทธิให้ขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือหากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกครั้งในรูปแบบของกระดาษ จะไม่ได้รับสิทธิให้ขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเช่นกัน และผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3) ที่ขยายออกไป
ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567
แบบแสดงรายการ |
กำหนดเวลาที่ขยายออกไป |
หมายเหตุ |
· ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
|
|
- ภ.ง.ด.94 |
ภายในวันที่ 8 ตุลาคมของทุกปี |
มาตรา 56 ทวิ |
-
ภ.ง.ด.90 -
ภ.ง.ด.91 -
ภ.ง.ด.95 |
ภายในวันที่ 8 เมษายนของปีถัดไป |
มาตรา 56 |
·
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก
ณ ที่จ่าย |
|
|
-
ภ.ง.ด.1 -
ภ.ง.ด.2 -
ภ.ง.ด.3 |
ภายใน 15 วัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน |
มาตรา 52 และ มาตรา 59 |
- ภ.ง.ด.1 ก |
ภายในวันที่
8 มีนาคมของปีถัดไป |
มาตรา 58 |
-
ภ.ง.ด.2 ก -
ภ.ง.ด.3 ก |
ภายในวันที่
8 กุมภาพันธ์ของปีถัดไป |
มาตรา 58 |
· ภาษีเงินได้นิติบุคคล |
|
|
- ภ.ง.ด.51 |
ภายใน 2
เดือน 8 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะ เวลา 6 เดือน
นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี |
มาตรา 67 ทวิ |
-
ภ.ง.ด.50 -
ภ.ง.ด.52 -
ภ.ง.ด.55 |
ภายใน 158
วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี |
มาตรา 68 และ มาตรา 69 |
- Disclosure Form |
ภายใน 158
วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี |
มาตรา 71 ตรี |
·
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก
ณ ที่จ่าย และจำหน่ายเงินกำไร |
|
|
-
ภ.ง.ด.53 |
ภายใน
15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน |
มาตรา 3 เตรส มาตรา 69 ทวิ |
-
ภ.ง.ด.54 |
ภายใน 15 วัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน หรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย |
มาตรา 70 และ |
·
ภาษีมูลค่าเพิ่ม |
|
|
- ภ.พ.30 |
ภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป |
มาตรา 83 |
- ภ.พ.36 |
ภายใน 15 วัน
นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการของเดือนที่ขายทอดตลาด
หรือของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
แล้วแต่กรณี |
มาตรา 83/5 มาตรา 83/6 มาตรา 83/7 |
· ภาษีธุรกิจเฉพาะ |
|
|
- ภ.ธ.40 |
ภายในวันที่
23 ของเดือนถัดไป |
มาตรา 91/10 |
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษี
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ฉบับที่ 3)
---------------------------------
เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นและสอดคล้องกับนโยบาย
“ไทยแลนด์ 4.0” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา
3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
อนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม
และภาษีธุรกิจเฉพาะบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย
หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่กรณี และแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีบัญชีงบดุล
บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย
หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่กรณี และแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ที่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้ยื่นรายการในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 ดังนี้
1.1 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ได้แก่
(1) ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 และ ภ.ง.ด.95
ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่
8 เมษายนของปีถัดไป
(2) ภ.ง.ด.94 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในเดือนกันยายนของทุกปีให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่
8 ตุลาคมของทุกปี
1.2
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่
(1) ภ.ง.ด.50 ภ.ง.ด.52 และ ภ.ง.ด.55
และบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน บัญชีรายรับ รายจ่าย
หรือบัญชีรายรับก่อนหักรายจ่ายที่มีบุคคลตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร
ตรวจสอบและรับรองในรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่กรณี ซึ่งต้องยื่นภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน
158 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
(2) ภ.ง.ด.51 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา
6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าว
เป็นภายใน 2 เดือน 8 วัน
นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน
นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี
(3) ภ.ง.ด.54 ซึ่งต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
หรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ให้ขยายกำหนดเวลาออกไปเป็นภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย
1.3 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.2
ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 ซึ่งต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายใน
7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน
15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
1.4 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.1 ก ซึ่งต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป
ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8
มีนาคมของปีถัดไป
1.5 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่าย ได้แก่ ภ.ง.ด.2 ก ภ.ง.ด.3 ก ซึ่งต้องยื่นรายการและนำส่งภาษีภายในเดือนมกราคมของปีถัดไป
ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 8
กุมภาพันธ์ของปีถัดไป
1.6 แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม
ได้แก่
(1) ภ.พ.30
ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในวันที่ 15
ของเดือนถัดไป ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
(2) ภ.พ.36
ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ
(กรณีผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว
หรือผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร)
ของเดือนที่ขายทอดตลาด (กรณีผู้ทอดตลาดซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม)
หรือของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน
ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
(กรณีผู้รับโอนสินค้าหรือผู้รับโอนสิทธิในบริการตามมาตรา 83/7 แห่งประมวลรัษฎากร) ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการของเดือนที่ขายทอดตลาด
หรือของเดือนที่ครบกำหนด 30 วัน ที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
แล้วแต่กรณี
1.7 แบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ
ได้แก่ ภ.ธ.40 ซึ่งจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายในวันที่ 23 ของเดือนถัดไป
1.8
แบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งต้องยื่นภายใน
150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีให้ขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปเป็นภายใน
158 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อ 2
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีที่จะได้รับสิทธิขยายกำหนดเวลาตามข้อ 1 จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติและฉบับเพิ่มเติมผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
หากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติในรูปแบบของกระดาษ
แม้ต่อมาจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกครั้งผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
จะไม่ได้รับสิทธิให้ขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี หรือหากเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีฉบับปกติผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอีกครั้งในรูปแบบของกระดาษ จะไม่ได้รับสิทธิให้ขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเช่นกัน
และผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีจะต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากร
ข้อ 3
กรณีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
และได้รับสิทธิผ่อนชำระ 3 งวด ตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร จะต้องผ่อนชำระภายในกำหนดเวลา
ดังนี้
- งวดที่หนึ่ง ต้องชำระพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไป
- งวดที่สอง ต้องชำระภายในหนึ่งเดือน
นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่หนึ่ง
- งวดที่สาม ต้องชำระภายในหนึ่งเดือน
นับแต่วันสุดท้ายที่ต้องชำระงวดที่สอง
หากไม่ชำระงวดใดงวดหนึ่งภายในเวลาที่กำหนดไว้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีหมดสิทธิที่จะชำระภาษีเป็นรายงวดต่อไป
และต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับงวดที่ไม่ชำระและงวดต่อ
ๆ ไป โดยคำนวณเงินเพิ่มตั้งแต่พ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่ได้รับอนุมัติให้ขยายออกไปนั้นจนถึงวันชำระ
ประกาศ
ณ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2563
อาคม
เติมพิทยาไพสิฐ
(นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง