ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจประมวลรัษฎากร และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
สุเทพ พงษ์พิทักษ์

แฟคตอริ่ง : ธุรกิจรับซื้อบัญชีลูกหนี้การค้า

บทความวันที่ 18 ต.ค. 2563  .  เขียนโดย อจ.สุเทพ  .  เข้าชม 8163 ครั้ง

แฟคตอริ่ง : ธุรกิจรับซื้อบัญชีลูกหนี้การค้า

 

ถาม แฟคตอริ่งคืออะไร

ตอบ แฟคตอริ่ง (Factoring) คือ การซื้อขายลูกหนี้ทางการค้า โดยมีบริษัทแฟคเตอร์ (Factor) ทําหน้าที่รับซือบัญชีลูกหนี้้การค้าในรูปของใบกํากับสินค้าประเภทต่าง ๆ จากผู้ขายสินค้า ผู้ขายสินค้าจะโอนสิทธิบัญชีลูกหนี้การค้าที่เกิดจากการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อไปให้กับบริษัทแฟคเตอร์ ขณะเดียวกันบริษัทแฟคเตอร์ก็จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ขายสินค้าที่ได้โอนสิทธิบัญชีลูกหนี้การค้าดังกล่าวให้ โดยบริษัทแฟคเตอร์อาจจะจ่ายเต็มจํานวนหรือบางส่วนตามแต่ตกลงกัน พร้อมกันนั้นก็จะคิดส่วนลด และค่าธรรมเนียมในการบริหารบัญชีลูกหนี้ ควบคุมการเรียกเก็บหนี้ตามบัญชีเมื่อครบกําหนดชำระ และรับผิดชอบต่อหนี้สูญตามมูลค่าของการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อที่อาจเกิดขึ้น

       การทำแฟคตอริ่งมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย คือ

1.    บริษัทผู้รับซื้อลูกหนี้ เรียกว่า บริษัท แฟคตอริ่ง (Factoring Company) หรออาจเรียกว่า แฟคเตอร์ (Factor)

       2.  บริษัทผู้ขายสินค้าเงินเชื่่อ และขายลูกหนี้ที่เกิดจากการขายสินค้าเงินเชื่อนั้น เรียกว่า ผู้ขาย (Client)

       3.  บริษัทผู้ซื้อสินค้าเงินเชื่อ และเป็นลูกหนี้ที่หนี้จะถูกขายให้กับแฟคเตอร์ เรียกว่า บริษัทลูกหนี้ (Customer)

       ระยะเวลาของการทำแฟคตอร์งจะเป็นช่วงสั้น ๆ ประมาณ 7 - 180 วัน การให้บริการของบริษัทแฟคตอริ่งแบ่งออกเป็นได้ 2 ระดับ คือ การให้บริการระดับภายในประเทศ (Domestic Factoring) กรณนีบรี้ ษิัทผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าจะอยู่ในประเทศเดียวกัน และการให้บริการระดับ

ระหว่างประเทศ (International Factoring) ที่ผู้ซื้อกับผู้ขายสินค้าจะอยู่คนละประเทศ

 

ถาม แฟคตอริ่งแบ่งเป็นกี่ประเภท

ตอบ ธุรกิจแฟคตอรงิ่ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ โดยพิจารณาจากระดับความรับผิดชอบในด้านการบริหารหนี้ และระดับความเสี่ยง ดังนี้

       1.  Disclosed Factoring เปนการตกลงซื้อขายและโอนสิทธิลูกหนี้การค้าอย่างเปิดเผย โดยจะมีการแจ้งให้ ลูกหนี้การค้าทราบถึงการซื้อขายและการโอนสิทธิดังกล่าว ซึ่งแบ่งย่อยเป็นหลายแบบ คือ

            1)  Without Recourse Factoring หรือ Full Factoring เป็นการให้ บริการเกี่ยวกับลูกหนี้ครบวงจร ตั้งแต่การบริการบัญชีลูกหนี้ การเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้จนกระทั้งถึงการรับภาระหนี้สูญู ซงการซื้อลููกหนี้ประเภทนี้แฟคตอร์จะจ่ายเงินให้กับบริษัทผู้ขายทันที และส่วนใหญ่บริษัทผู้ขายที่มีฐานะและประวัติการดําเนินงานดีเชนเดียวกับลูกหนี้ที่มีคุณภาพ จึงจะมีโอกาสได้รับการเสนอบริการประเภทนี้จากแฟคเตอร์

            2)  With Recourse Factoring เปนบริการที่คล้ายกับ Without Recourse Factoring ยกเว้นในการรับภาระที่เกิดจากการผิดเวลาการรับชําระหนี้ หรือภาระหนี้สูญ โดยในกรณีที่มีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น แฟคตอรมีสีทธิ เรียกร้องบริษัทผู้ขายให้ชําระหนี้แทนลูกหนี้รายนั้น ๆ ได้โดยจะต้องมีการกาหนดเงื่่อนไขหรือระยะเวลาที่จะชําระคืนไว้ในสัญญาด้วย ซึ่งกรณีนี้แฟคตอร์มักจะเสนอบริการแก่ผู้ขายที่มีฐานะการเงินดีเพื่อป้องกันปัญหาการเกิดหนี้สูญ หรือผิดเวลาในการรับชําระหนี้

            3)  Bulk Factoring บริการประเภทนี้ให้เฉพาะด้านการกู้ยืมเงินที่จ่ายสําหรับค่าซื้อลูกหนี้การค้าแก่ผู้ขายอย่างเดียวเท่านั้น ส่วนด้านการบริหารบัญชีลูกหนี้ การติดตามเรียกชําระหนี้ และการรับผิดชอบต่อหนี้สูญจะต้องเป็นภาระตกอยู่กับบริษัทผู้ขาย อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้ยังคงต้องชาระหนี้้ให้แก่บริษัทแฟคตอริ่งตามเงื่อนไขการโอนสิทธิ

            4)  Agency Factoring บริษัทแฟคตอริ่งจะเป็นผู้จ่ายเงินซื้อลูกหนี้การค้าและจะรับผิดชอบเฉพาะภาระหนี้สูญ ส่วนการบริหารบัญชีลูกหนี้และการเรียกเก็บหนี้เป็นความรับผิดชอบของผู้ขาย โดยเฉพาะการเรียกเก็บนั้น บริษัทผู้ขายจะทําในฐานะตัวแทนของบริษัทแฟคตอริ่งโดยเงินที่เกบจากลููกหนี้ได้ให้นําส่งหรือชําระโดยตรงต่อแฟคเตอร์

            5)  Maturity Factoring เป็นแฟคตอริ่งทิ่บริการเกือบสมบูรณฺแบบ มีลักษณะใกลเเคียงกับFull Factoring กลาวคือ บริษัทแฟคตอริ่งให้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารบัญชีลูกหนี้ การติดตามเรียกชำระหนี้ การรับภาระหนี้สูญ และมีการโอนสิทธิการรับเงินในหนี้นั้นจากบริษัทลูกค้าให้กับบริษัทแฟคตอริ่ง แต่ในกรณีนั้นบริษัทแฟคตอริ่งจะไม่ชําระเงินให้กับบริษัทลูกค้าทันที แต่จะชําระให้ เมื่อบริษัทแฟคตอริ่งเรียกชําระเงินจากบริษัทลูกหนี้ได้แล้ว หรือเมื่อหนี้ครบกําหนดชําระบริษัทลูกค้าที่เลือกทาแฟคตอริ่งแบบนี้มักเป็นกิจการขนาดเล็ก มีจุดมุ่งหมายเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายการบริหารบัญชีลูกหนี้และการติดตามเรียกชําระหนี้

       2.  Confidential Factoring หรือ Non-Notification เป็นการทําแฟคตอรงระหว่างบริษัทแฟคตอริ่งและบริษัทผู้ขาย โดยที่บริษัทลูกหนี้ไม่ได้รับแจ้งให้ทราบถึงการตกลงซื้อขาย และการโอนกรรมสิทธิ์การรับเงินในหนี้นั้น แฟคตอริ่งแบบนี้แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

            1) Invoice Discounting Factoring การทำแฟคตอริ่งประเภทนี้ บริษัทแฟคเตอร์จะรับซื้อ และรับโอนสิทธิการรับเงินในหนี้จากบริษัทลูกค้าโดยชําระเงินให้กับบริษัทผู้ขาย โดยชําระเงินให้กับบริษัทผู้ขายทันที่แต่ไม่เต็มมูลค่าทั้งหมด อาจจะชําระ 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าหนี้ ส่วนความรับผิดชอบในการบริหารบัญชีลูกหนี้ การติดตามเรียกชําระหนี้และความรับผิดชอบต่อหนี้สูญเป็นภาระของบริษัทผู้ขาย ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทลูกหนี้ไมไดรับทราบถึงการโอนสิทธิการรับเงินในหนี้นั้น 



            2) Undisclosed Factoring มลีกษณะคล้ายกับ Invoice Discounting Factoring ต่างกันที่การทําแฟคตอริ่งแบบ Undisclosed นี้บริษัทแฟคเตอรฺจะร่วมรับผิดชอบต่อหนี้สูญเป็นบางส่วนตามแต่ จะตกลงกับบริษัทผู้ขาย ส่วนที่เหลือบริษัทผู้ขายจะรับภาระไว้ การที่บริษัทแฟคเตอร์เข้ามาร่วมรับผิดชอบต่อหนี้สูญก็เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระความเสี่ยงของบริษัทผู้ขาย ขณะเดียวกันก็ยังคงให้บริษัทลูกค้ารับภาระหนี้สูญบางส่วนร่วมด้วย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้บริษัทลูกค้ามีความสนใจในการติดตามเรียกชําระ รวมทั้งให้มีการพิจารณาการปล่อยเครดิตทางการค้าอย่างมีประสิทธิภาพ

       การทําแฟคตอริ่งทั้งสองประเภทนี้ บริษัทลูกหนี้จะยังคงสั่งชําระหนี้ให้แก่บริษัทผู้ขาย เนื่องจากไม่ทราบถึงข้อตกลงเรื่องการซื้อขาย และการโอนสิทธิการรับเงินในหนี้ที่เกิดขึ้น นอกจากในกรณีที่บรืษัทผู้ขายที่เกิดล้มละลายซึ่งจะต้องมีการแจ้งสิทธิการรับเงินในหนี้นั้น ๆ

 

ถาม การทาแฟคตอริ่งภายในประเทศมีขั้นตอนอย้างไร

ตอบ ขั้นตอนการทำแฟคตอริ่งที่สําคัญมีดังนี้

       1. การคัดเลือกบัญชีลูกหนี้ (Selection) เป็นการคัดเลือกบัญชีลูกหนี้ที่แฟคเตอร์จะรับ แฟคเตอริ่ง โดยจะพิจารณาที้ระดับความเสี่ยงของบัญชีลูกหนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ โดยบัญชีลูกหนี้ดังกล่าวต้องเป็นลูกหนี้ที่มีคุณภาพ

       2. การแจ้งให้ทราบ (Notification) เมื่อคัดเลือกบัญชีลูกหนี้แล้ว แฟคเตอร์จะแจ้งไปยังลูกหนี้รายที่นํามาทำแฟคตอริ่งให้ทราบว่า บัญชีลูกหนี้ดังกล่าวได้มีการทําแฟคตอริ่งแล้ว และได้มีการโอนการชำระเงินจากบริษัทผู้ขายสินค้ามาเป็นแฟคตอรื่งแล้ว ดังนั้นเมื่อครบกําหนดการชําระเงิน ลูกหนี้จะต้องนำเงินมาชําระโดยตรงกับแฟคเตอร์ อย่างไรก็ดี ในบางครั้งลูกหนี้อาจไม่ทราบถึงการที่มีการนําบัญชีไปทำแฟคตอรื่ง ลูกหนี้อาจจะยังคงติดต่อชําระเงินกับบริษัทผู้ขายสินค้าอย่างเดิม

            ดังนั้นนอกจากแฟคเตอร์จะแจ้งให้ลูกหนี้ทราบแล้ว บริษัทผู้ขายสินค้าควรจะแจ้งด้วย เพราะลูกหนี้เกรงว่าแฟคเตอร์จะหลอกลวง

       3.  เงินสำรองของแฟคเตอร์ (Factor’s Reserve) จะกำหนดเป็นร้อยละของมูลค่าบัญชีที่ตกลงทำแฟคตอริ่งเพื่อเป็นการลดความเสี่ยง ถ้าหากการทําแฟคตอริ่งไม่มีการเกิดหนี้สูญเงินสํารองดังกลาวก็จะจ่ายคืนให้แก่ผู้ขายสินค้า ปกติมันจะกําหนดไว้ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ของวงเงินแฟคตอริ่ง

       4.  วันชำระเงิน (Payment Dates) บริษัทแฟคตอริ่งจะมีการกําหนดวันจ่ายชําระเงินให้แก่บริษัทผู้ขายสินค้าก็ต่อเมื่อบัญชีลูกหนี้ดังกล่าวถึงกําหนดวันชําระคืน หรือสามารถเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ได้ขึ้นอยู่กับว่าวันใดมาถึงกําหนดก่อนกัน

       5.  เงินล่วงหน้าและเงินส่วนเกิน (Advance and Surplus) บรษิัทแฟคตอริ่งจะตั้งบัญชีลูกหนี้ที่รับทําแฟคตอริ่งมาเป็นเสมือนกับเงินฝากธนาคาร และเมื่อบัญชีดังกล่าวถึงกําหนดชําระเงินก็จะเปลี่ยนเป็นบัญชีเงินสดเข้าไปทดแทนบัญชีลูกหนี้ ในบางครั้งบริษัทผู้ขายก็ไม่ได้สนใจไปรับเงินฝากจากแฟคเตอร์เมื่อบัญชีลูกหนี้ถึงกําหนดจึงเกิดเงินส่วนเกิน (Surplus) ขึ้นที่แฟคเตอร์ แต่ในบางกรณีหากแฟคเตอร์มีการจ่ายเงินสํารองให้กับบริษัทลูกค้าไปก่อน ก็จะมีการเรียกเก็บเงินตามบัญชีลูกหนี้ได้จึงเกิดเงินล่วงหน้า (Advance) ซงตรงข้ามกับเงินส่วนเกินและจะมีการคิดดอกเบี้ยในส่วนนี้ด้วย

       6.  ค่าใช้จ่ายทำแฟคตอริ่ง (Factoring Commission) ประกอบด้วย

            1) ค่าธรรมเนียมแฟคตอริ่ง (Factoring Commission) เป็นเงินที่แฟคเตอร์เรียกเก็บสำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหาร ปกติจะเก็บประมาณ 1 - 3 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าบัญชีที่จะทําแฟคตอริ่ง

            2) คาดอกเบี้ยสําหรับกรณีจ่ายเงินล่วงหน้า (Interest on Advance) จะคิดในอัตราเงินกู้ของลูกคัาชั้นดีบวกด้วย 2 - 4 เปอร์เซ็นต์ซึ่งจะมีผลให้ต้นทุนหรือค๋าช็จ๋ายในการทําแฟคเตอริ่งสูงขึ้น

            3) ค่าดอกบ็้ยสําหรับกรณีที่มีเงินส่วนเกิน (Interest on surplus) หากบริษัทผู้ขายมีเงินส่วนเกินอยู๋ที่บริษัทแฟคตอริ่งจะได้รับดอกเบี้ยในอัตรา 0.5 เปอรเซ็นต์ต่อเดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู๋กับข้อตกลงในการทาแฟคตอริ่ง

 

ถาม นอกจากบริการแฟคตอริ่งภายในประเทศแล้ว บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศดําเนินการอย๋างไร

ตอบ ประเทศ ก. ประเทศ ข.


       การเปิดบัญชีโดยตรงระหว่างคู่ค้า (Open Account) เป็นการขายที่ผู้ส่งออกให้เครดิตแก่ผู้ซื้อ แต่วิธินี้มีความเสี่ยงสูงหากเศรษฐกิจในประเทศผู้ซื้อตกตํ่าหรือกิจการของผู้ซื้อล้มละลาย ผู้ส้งออกอาจได้รับเงินล่าช้า หรืออาจไม่ได้รับการชําระเงินเลย แฟคตอริ่งจึงเปึนรูปแบบบริการใหม่ที่เข้ามาสนับสนุนการค้าในรูปของ Open Account เพื่อให้ผู้ส่งออกเกิดความมั่นใจในการขาย และลดความเสี่ยงเรื่องหนี้สูญ

       การใช้บริการแฟคตอริ่งระหว่างประเทศจะมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้อง 4 ฝ่ายด้วยกัน คือ 1. ผู้ส่งออก 2. บริษัททาแฟตอริ่งส่งออก 3. ผู้นําเข้า และ 4. บริษัททำแฟคตอริ่งนำเข้า

       1. ผู้ส่งออกจะติดต่อและเซ็นสัญญากับบรษิัทําแฟคตอริ่งส่งออก โดยโอนสิทธิในลูกหนี้การค้าให้บริษัททําแฟคตอริ่งส่งออกเพื่อทําหน้าที่เรียกเก็บและทวงถาม

       2. บริษัททำแฟคตอริ่งส่งออกจะคัดเลือกบริษัทคู่ค้าที่เป็นสมาชิกของ Factoring Chain International – FCI เพื่อเป็นบริษัททำแฟคตอริ่งนำเข้า โดยจะทําหน้าที่เรียกเก็บและติดตามการชำระหนี้ในประเทศผู้นําเข้า

       3. บริษัททำแฟคตอริ่งนำเข้าจะทำหน้าที่วิเคราะห์ฐานะของผู้นําเข้า และจะตั้งวงเงินประกันหนี้สูญต่อผู้ส่งออกที่ทําการซื้อขายในลักษณะ Open Account

       4. หลงจากที่มีการตกลงทำแฟคตอริ่งผู้ส่งออกจะส่งสินค้าพร้อมทั้งเอกสารและใบกํากับสินค้าไปให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ พร้อมกับส่งสําเนาให้บริษัททําแฟคตอรื่งส่งออก หลังจากสินค้าถึงจุดหมายปลายทางและถึงกำหนดชําระเงิน บริษัททําแฟคตอริ่งนําเข้าจะทําหน้ที่ติดตามเรียกเก็บเงินจากผู้นำเข้าส่งตรงให้กับบริษัททําแฟคตอริ่งส่งออก และรับผิดชอบภาระหนี้ตามที่ระบุในสัญญา เมื่อบริษัททําแฟคตอริ่งส่งออกได้รับสําเนาเอกสารก็จะจ่ายเงินให้แก่ผูดแสงออกทันทีตามวงเงินที่ตกลงกัน

 

ถาม การทาแฟคตอริ่งมีประโยชน์อย่างไร

ตอบ

       1. ปัจจุบันการแข่งขันทางการคัาระหว่างประเทศค่อนข้างรุนแรง อีกทั้งมีข้อจํากัดมากมายตามกฎระเบียบของ WTO เกี่ยวกับการสนับสนุนการส่งออกของภาครัฐบาล การใช้บริการแฟคตอริ่ง จึงเป็นทางออกที่สําคัญ เพราะถือว่าเอกชนเป็นผู้ดําเนินการสนับสนุนทางการเงินไม่ใช่จากภาครัฐ รัฐบาลของประเทศผู้นําเข้าจึงไม่สามารถใช้เป็นข้ออ่างในการกีดกันการนําเข้า ยิ่งกว่านั้น จากการที่ปัจจุบันระบบธนาคารพาณิชย์มีการจัดชั้นหนี้เสียเข้มงวดมากกว่าก่อน เกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 กล่าวคือ หากผู้กู้ไม่ชําระเงินต้นและดอกเบี้ยภายใน 3 เดือนก็ถือเป็นหนี้เสีย (NPL) ซึ่งในสมัยก่อนใช้ระยะเวลา 12 เดือนเป็นเกณฑ์ ทำให้ผู้กู้มีประวัติหนี้เสียภายในระยะเวลาที่สั้นลง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า การขายสินค้าไม่รวดเร็วดังแต่ก่อน การปล่อยสินเชื่อเข็มงวดขึ้น สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ธุรกิจแฟคตอริ่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจ

       2. เครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการทําการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันที่สําคัญได้แก่ เล็ตเตอร์ออฟเครดิต (Letter of Credit : L/C) และการเปิดบัญชีโดยตรงระหว่างคู่ค้า (Open Account) ในแง่ของผู้ส่งออกมีความเชื่อว่า L/C เปนหลักฐานการจ่ายเงินที่เชื่อถือได้ เพราะจะได้รับการชําระเงินเมื่อนํา L/C ไปเรียกเก็บเงินกับธนาคาร แต่ในทางปฏิบัติแล้วอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะหากเงื่อนไขใน L/C คลาดเคลื่อน ผู้ส่งออกอาจไม่ได้รับการชําระเงินตามกําหนด หรืออาจไม่ได้รับการชำระเงินเลย นอกจากนี้การเปิด L/C ยังขาดความต่อเนื่องในการใช้วงเงิน เพราะ L/C หนึ้งฉบับใช้ได้กับการซื้้อขายเพียง 1 ครั้งเท่านั้น การเปิด L/C มีเงื่อนไขมากและต้องมีหลักทรัพย์คํ้าประกัน ทําให้ผู้ขอใช้บริการต้องเสียเวลาและยุ่งยากในการเดินเรื่องแต่ละครั้ง จึงไม่เหมาะสมกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก

            ธุรกิจแฟคตอริ่งช่วยเสริมสภาพคล่องทางด้านการเงินให้กับธุรกิจส่งออก โดยสามารถเปลี่ยนใบกำกับสินค้าหรือใบวางบิลเป็นเงินสดได้ทันที ทําให้ธุรกิจมีเงินทุนหมุนเวียนในระบบเร็วขึ้น โดยไม่ต้องไปขอกู้จากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งมีเงื่อนไขในการกู้ และต้องมีหลักทรัพย์คํ้าประกัน

       3. ช่วยให้ผู้ส่งออกสามารถขยายตลาดการค้าได้กว้างขวางและเร็วขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลารอให้ผู้นําเข้าต้องเปิด L/C กับธนาคาร เพราะบริษัทแฟคเตอร์จะเข้ามาเป็นผู้คํ้าประกันให้แทน โดยใช้เวลาที่รวดเร็วกว่ามาก อันจะช่วยเพิ่มโอกาสแข็งขันทางการค้า ทําให้ผู้ส่งออกสามารถเสนอขายสินค้า โดยมีเงื่อนไขการชำระเงินที่จูงใจผู้ซื้อ กล่าวคือ สามารถให้ระยะเวลาการชําระหนี้ที่ยาวนานขึ้น เพราะผู้ส่งออกสามารถใช้ เงินสดหมุนเวียนจากบริษัทแฟคเตอร์ได้ก่อนในช่วงระหว่างรอเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อ

       4. ช่วยลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ เพราะมีบริษัทแฟคเตอร์ช่วยสํารวจฐานะการเงินของผู้ซื้อ ข้อมูลการค้าดังกล่าวจึงทําให้ผู้ส่งออกสามารถคัดเลือกลูกหนี้การค้าได้อย้างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้บริษัทแฟคเตอรก็ยังทั าหน้าที่คํ้าประกันความเสี่ยงจากหนี้สูญให้ อันช่วยสรางความมั่นใจของผู้ส่งออกในการทําการค้าในตลาดต่างๆ

            อยางไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ธุรกิจนี้ยังไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทย เพราะการรับรู้ข้อมูลและความเข้าใจในธุรกิจนี้ยังไม่แพร่หลาย และทางการยังไม่ได้ออกกฎหมายเฉพาะขึ้นมารองรับการประกอบธุรกิจประเภทนี้ หากได้รับการสนับสนุนจากทางการแล้ว แฟคตอริ่งจะเป็นแหล่งเงินทุนหลักแหล่งที่สองที่มีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก มิใช่เป็นเพียงแค่แหล่งเงินทุนเสริมเท่านั้น ขณะนี้มีบริษัทที่ประกอบธุรกิจแฟคตอรงหลายบริษัท อาทิ บริษัทสยามเจเนอรัลแฟคตอริ่ง บริษัท เอ็มบีเอฟ แฟค เตอรส์ จํากัด บริษัทไทยฟาร์มเมอร์เฮลเลอร์แฟคตอริ่ง จำกัด บริษัทอยุธยา อินเตอร์เนชั่นแนลแฟคตอริ่ง จํากัด บริษัท นครหลวงแฟคตอริ่ง จํากัด

------------------------

 

(ผู้เขียนเดิม) เรียบเรียงจาก บทความ “แฟคตอริ่ง: ธุรกิจรับซื้อบัญชีลูกหนี้การค้า” หน่วยวิจัยธนาคารกสิกรไทย พ.ศ.2543


ที่มา: http://econs.co.th/index.php/2017/02/02/factoring_article/

Posted on กุมภาพันธ์ 2, 2017 by Panya Ratanarangsank — No Comments ↓

factoring2.png

 

เนื่องจากมีลูกค้ารายหนึ่งที่ทีมที่ปรึกษากำลังให้คำปรึกษาอยู่ มีกรณีขายลูกหนี้ Factoring อยู่ด้วย ผมจึงขอ Link บทความที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ Factoring มาแบ่งปันให้น้อง ๆ ในทีมที่เพิ่งเคยรู้จัก Factoring ได้มาศึกษากันครับ แม้ว่าจะเป็นบทความตั้งแต่ปี 2543 แต่ข้อมูลยังคงเป็นปัจจุบันครับ

 

อนึ่ง ปัจจุบันมีธุรกิจรับซื้อบัญชีลูกหนี้การค้าหลายบริษัทแข่งขันกันให้บริการ ทั้งที่เป็นธนาคารและไม่ใช่ธนาคาร ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่าในปี 2543 มากครับ