ประเภทการขนส่งทางบก
บทความวันที่ 17 ต.ค. 2563 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 6900 ครั้ง
บทความวันที่ 17 ต.ค. 2563 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 6900 ครั้ง
ประเภทการขนส่งทางบก
การประกอบการแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. การขนส่งประจำทาง
1.1 ความหมาย
การขนส่งประจำทาง หมายความว่า
การขนส่งเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด
ได้แก่รถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพฯ รถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯไปส่วนภูมิภาค
รถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัดในส่วนภูมิภาค
รถโดยสารประจำทางในเขตจังหวัดในส่วนภูมิภาค
1.2 ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ
มีพื้นเป็นสีเหลือง ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ เช่น 10-9999
1.3 สถานที่ติดต่อ
ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา
(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ (กรณีเป็นนิติบุคคล
ส่วนกลาง
ที่ส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก
ส่วนภูมิภาค
ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด
2. การขนส่งไม่ประจำทาง
2.1 ความหมาย
การขนส่งไม่ประจำทาง
หมายความว่า การขนส่งเพื่อสินจ้างโดยไม่จำกัดเส้นทาง
และห้ามมิให้กระทำการขนส่งอันมีลักษณะเช่นเดียวหรือคล้ายกัน
หรือมีลักษณะเป็นการแย่งผลประโยชน์กับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) การขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร ได้แก่
การขนส่งเพื่อสินจ้างด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไปยังจุดต่าง ๆ
โดยจัดเก็บค่าขนส่งและหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่งเป็นรายบุคคล
หรือโดยการเหมาเป็นรายเที่ยว รายวัน หรือรายเดือน
(ก) ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ
มีพื้นเป็นสีเหลือง ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ เช่น 30-9999
(ข) สถานที่ติดต่อ
ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
ส่วนกลาง
ที่ส่วนการขนส่งผู้โดยสารไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก
ส่วนภูมิภาค
ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด
(2) การขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถบรรทุก ได้แก่
การขนส่งเพื่อสินจ้างด้วยรถที่ใช้ในการขนส่ง สัตว์หรือสิ่งของ (บรรทุกสินค้าหรือสิ่งของของผู้ว่าจ้างหรือผู้ใช้บริการ)
ไปยังจุดหมายปลายทางต่าง ๆ โดยจัดเก็บค่าขนส่งและหรือค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง
(ก) ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ มีพื้นเป็นสีเหลือง
ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ เช่น 70-9999
(ข) สถานที่ติดต่อ ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
หรือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่(กรณีเป็นนิติบุคคล)
ส่วนกลาง
ที่ส่วนประกอบการขนส่งสินค้า ด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์และสิ่งของ
สำนักการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบก
ส่วนภูมิภาค
ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด
3. การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
3.1 ความหมาย
การขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
หมายความว่า การขนส่งคนหรือสิ่งของ
หรือคนและสิ่งของรวมกันเพื่อสินจ้างตามเส้นทางที่คณะกรรมการกำหนด
ด้วยรถที่มีน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกรวมกันไม่เกินสี่พันกิโลกรัม ได้แก่
รถโดยสารรับจ้างขนาดเล็ก
ซึ่งมีเส้นทางเดินรถในเขตตัวเมืองที่มีพื้นที่ไม่ไกลมากนัก และมักจะเป็น เขตท้องที่ที่รถโดยสารขนาดใหญ่
ไม่สามารถเข้าไปรับ-ส่งผู้โดยสารได้โดยสะดวก จึงจำเป็นต้องใช้รถขนาดเล็ก
3.2 ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ มีพื้นเป็นสีเหลือง
ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ เช่น 20-9999
3.3 สถานที่ติดต่อ ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา
(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
ส่วนกลาง
ที่ส่วนการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง สำนักการขนส่งผู้โดยสาร กรมการขนส่งทางบก
ส่วนภูมิภาค ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด
4. การขนส่งส่วนบุคคล
4.1
ความหมาย
การขนส่งส่วนบุคคล
หมายความว่า การขนส่งเพื่อการค้าหรือธุรกิจของตนเอง ด้วยรถที่มีน้ำหนักบรรทุกเกินกว่าหนึ่งพัน
หกร้อยกิโลกรัม โดยมิได้ใช้รถนั้นเป็นเครื่องมือรับจ้างหารายได้ แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
(1) การขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ
มีพื้นเป็นสีขาว ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ เช่น 40-9999
(2) การขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถบรรทุก
(รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ)
ลักษณะแผ่นป้ายทะเบียนรถ
มีพื้นเป็นสีขาว ตัวอักษรและตัวเลขเป็นสีดำ เช่น 80-9999
4.2 สถานที่ติดต่อ
ให้ยื่นคำขอได้ตามภูมิลำเนา(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
หรือตามที่ตั้งสำนักงานใหญ่(กรณีเป็นนิติบุคคล)
ส่วนกลาง
ที่กลุ่มวิชาการขนส่ง สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 กรมการขนส่งทางบก
หรือสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1 – 4
ส่วนภูมิภาค ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด
หรือสำนักงานขนส่งสาขา
ที่มา: DLT.GO.TH
สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3