ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ตอนที่ 5
บทความวันที่ 25 ส.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 5100 ครั้ง
บทความวันที่ 25 ส.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 5100 ครั้ง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ตอนที่ 5
วิธีการศึกษาประมวลรัษฎากรให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นเรื่องที่เป็นไปได้เสมอสำหรับผู้ที่มีความรักความพึงพอใจที่จะศึกษาให้สำเร็จ
แม้จะเป็นงานที่ใหญ่โตมาก แต่สำหรับคนขี้แพ้แหยแฟ่น ไม่ต้องเลย หันหลังกลับไป
มาทางไหนรีบกลับไปทางนั้น ไปสู่ที่ชอบที่อื่นๆ ซึ่งมีอีกมากมาย
มามะมา
สำหรับท่านที่รักจะเรียนรู้ประมวลรัษฎากร
การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ประสบผลสำเร็จ
โดยเฉพาะประมวลรัษฎากร ผู้ศึกษาพึงต้องมีองค์ประกอบดังนี้
1.
ต้องมีศรัทธา ความรัก ความพึงพอใจที่จะศึกษา โดยเล็งเห็นประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาประมวลรัษฎากร
(ได้เลย มีพร้อมแล้ว
และไม่มีความย่อท้อ มีแต่ความพากเพียร ด้วยจิตใจจดจ่อ)
2.
ต้องศึกษาโดยมององค์รวม (as a whole, totally, universal)
(ก็คือการมั่นฝึกฝน
จากความไม่รู้ไปสู่ความรู้ จากองค์เล็กๆ ไปสู่องค์รวมที่ใหญ่
จากที่รู้น้อยเรื่องไปสู่ความที่มากมายๆ
เพราะกรุงรัตนโกสินทร์มิใช่สร้างเสร็จในวันเดียว)
3.
ต้องเข้าใจจุดมุ่งหมายของเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้
(ประมวลรัษฎากร
มีขึ้นเพื่ออำนวยให้เกิดความเป็นธรรมแก่สังคม อาทิ การจัดสรรทรัพยากร
การกระจายรายได้ การเสียสละแบ่งปันในสิ่งที่ตนมีให้แก่ผู้อื่น)
4.
มีเป้าหมายที่จะเป็นคนดีของสังคม
หลักกฎหมายในประมวลรัษฎากร
1. หลักกฎหมายทั่วไป
และกฎหมายพิเศษ
เพื่อตีความและปรับใช้กฎหมายในลำดับศักดิ์เดียวกันที่มีความขัดแย้งกัน
ตามหลักกฎหมายพิเศษย่อมใช้บังคับก่อนหรือยกเว้นกฎหมายทั่วไป
"กฎหมายทั่วไป" คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไป
ไม่จำกัดบุคคล เหตุการณ์ เวลา หรือสถานที่
"กฎหมายพิเศษ" คือ กฎหมายที่บัญญัติขึ้นใช้บังคับเฉพาะบุคคล เหตุการณ์ เวลา
หรือสถานที่
ซึ่งในประมวลรัษฎากรมีการนำหลักการนี้มาบัญญัติเป็นกฎหมายอยู่หลายต่อหลายเรื่อง
ประการที่หนึ่ง เนื่องจากเป็นการรวบรวมกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บภาษีอากรจากราษฎรหรือประชาชน
หลายฉบับมาบัญญัติรวมกันไว้ในกฎหมายฉบับเดียว เป็น "ชุดกฎหมาย"
จึงจำเป็นต้องบัญญัติหลักกฎหมายทั่วไปที่ใช้ร่วมกันรวมไว้ที่แห่งหนึ่ง
โดยเป็นส่วนต้นหรือส่วนหน้า ซึ่งหากในแต่ละกฎหมายที่บัญญัติตามมา
มีบทบัญญัติที่แตกต่างกัน ก็ให้ถือเป็นกฎหมายพิเศษที่มีผลใช้บังคับก่อน เช่น
ตามหมวด 2 วิธีการเกี่ยวแก่ภาษีอากรประเมิน
เป็นกฎหมายทั่วไปของ บทบัญญัติในหมวด 3 ภาษีเงินได้ หมวด 4 ภาษีมูลค่าเพิ่ม และหมวด 5 ภาษีธุรกิจเฉพาะ
โดยทั่วไปตามมาตรา 15 กำหนดให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 ไปใช้บังคับกับหมวด 3 หมวด 4
และหมวด 5 เพื่อการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรประเมิน
แต่ถ้าในหมวด 3 หมวด 4 และหมวด 5
มีบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการบริหารการจัดเก็บไว้เป็นพิเศษต่างหากก็ให้ใช้บังคับตามกฎหมายพิเศษนั้น
ไม่ต้องกลับมาใช้บทบัญญัติในหมวด 2 อีกเพราะความขัดกันของกฎหมายในลำดับศักดิ์เดียวกัน
ประการที่สอง ในทุกหลัก ย่อมมีข้อยกเว้น (Every Rules have Exemptions) จึงในแต่ละมาตราอาจมีข้อยกเว้น ก็จะปรากฏคำว่า "เว้นแต่"
"ความในวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับ" "ภายใต้บังคับมาตรา ..."
เป็นต้น
2.
หลักเนื้อหาสำคัญกว่ารูปแบบ (Substance
over Form) ในทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
ยึดถือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นสำคัญ
มิใช่อ้างแต่เพียงชื่อก็จะปรับเข้ากับข้อกฎหมายได้
3.
หลักความสะดวก (Convenience) โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเสียภาษีอากร
4.
หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ ตาม"หลักแหล่งเงินได้
และหลักถิ่นที่อยู่" ภายใต้หลักผลประโยชน์ตอบแทน โดยกำหนดจัดเก็บตามหลักความสามารถในการเสียภาษี
(Ability to Pay) และหลักความมั่งคั่ง (Wealth)
5.
หลัก Supply Chain ซึ่งประยุกต์จากหลักบัญชี “ทุกเดบิตย่อมีเครดิตด้วยจำนวนที่เท่ากัน”
หากฝ่ายหนึ่งจ่ายรายจ่าย อีกฝ่ายหนึ่งต้องมีเงินได้หรือรายได้ที่ต้องนำมาเสียภาษีอากร
6.
หลักอำนวยรายได้
หากจัดเก็บภาษีอากรยากก็ยกเว้นภาษีอากรให้เสียเลย
7.
หลักการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มตาม “หลักการบริโภค” และ “หลักปลายทาง”
8.
หลักกฎหมายปิดปาก ในบางกรณีที่อาจเป็นอุปสรรคปัญหาในทางปฏิบัติของเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากร
กฎหมายจึงได้กำหนดให้ถือว่า เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่นั้นสมบูรณ์แล้ว เช่น
การส่งหมายเรียก หรือหนังสือตามมาตรา 8
การประเมินตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องเนื่องจากไม่ได้รับความร่วมมือด้วยดี
และหลักอื่นๆ
อีกมากมายครับ