ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ตอนที่ 3
บทความวันที่ 25 ส.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 3126 ครั้ง
บทความวันที่ 25 ส.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 3126 ครั้ง
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประมวลรัษฎากร ตอนที่ 3
ในช่วงต้นของการบังคับใช้ประมวลรัษฎากร
ต่อจากพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ พุทธศักราช 2475 พระราชบัญญัติภาษีการค้า พุทธศักราช 2475 พระราชบัญญัติภาษีการธนาคารและการประกันภัย พุทธศักราช 2476 และพระราชบัญญัติอากรแสตมป์ พุทธศักราช 2475 นั้น
"ปีภาษี" หมายถึง ปีปฏิทินหลวง โดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
ซึ่งเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ไทยมาแต่เก่าก่อน และเหมือนกับประเทศญี่ปุ่น
วันที่ใช้บังคับบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรจึงกำหนดให้เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่
1 เมษายน 2482 เป็นต้นไป
อย่างไรก็ตามกระแสตะวันตกที่เริ่มต้นปีหรือศักราชใหม่ในวันที่
1 มกราคม
ของทุกปีก็แรงขึ้นมา จนรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม
ที่มุ่งพัฒนาประเทศไทยให้เป็นประเทศมหาอำนาจ จึงได้ตราพระราชบัญญัติปีประดิทิน
พ.ศ. 2483
โดยมีหลักการกำหนดปีประดิทินใหม่มีระยะเวลาสิบสองเดือน เริ่มแต่วันที่ ๑ มกราคม
และสิ้นสุดในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมแก่กาลสมัย
และจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณ
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติปีประดิทิน พ.ศ. 2483 ได้บัญญัติว่า "ปีปฏิทินนั้นให้มีกำหนดระยะเวลาสิบสองเดือน
เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม
ปีซึ่งเรียกว่า ปีพุทธศักราช 2483 ให้สิ้นสุดลงวันที่ 31 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ และปีซึ่งเรียกว่า ปีพุทธศักราช 2584 ให้เริ่มแต่วันที่ 1 มกราคม ต่อไป"
ในส่วนที่เกียวกับภาษีอากรนั้นเป็นไปตามมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า
"บรรดาเงินภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมใดๆ
ที่มีกำหนดต้องเสียเป็นรายปี ซึ่งเริ่มแต่วันที่ 1 เมษายน
พุทธศักราช 2483 นั้น
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเต็มจำนวนสิบสองเดือน
ส่วนเงินภาษีอากรหรือค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียสำหรับปีพุทธศักราช
2484
นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพียงสามในสี่ส่วนของจำนวนทั้งปี"
การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทยสำหรับปี
2484
จึงจัดเก็บเพียง 9 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2484 ถึงวันที่ 31
ธันวาคม 2484 เท่านั้น สำหรับปีภาษี 2485 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันจัดเก็บภาษีเงินได้เป็นรายปีภาษีระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี (เห็นว่าเป็นเกร็ดประวัติศาสตร์ที่ควรบันทึกไว้
เผื่อในภายภาคหน้าอาจหาที่อ้างอิงไม่ได้ ว่าเพราะเหตุใดทำไม่จึงเป็นเข่นนั้น)
กฎหมายประมวลรัษฎากร
บัญญัติขึ้นภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475
รูปแบบของกฎหมายแม้กำหนดให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ทรงใช้พระราชอำนาจในการตรากฎหมาย
ดังเช่นที่เคยเป็นมาก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ให้เป็นระบอบประชาธิปไดยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
แต่พระองค์ท่านหาได้มีพระราชอำนาจในการบัญญัติกฎหมายโดยพระองค์เองไม่
หากแต่เป็นไปตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี
จึงต้องมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จึงในรัฐธรรมนูญได้บัญญัติยกย่องพระเกียรติยศแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้สูงสุดว่า
"ผู้ใดจะฟ้องร้องพระมหากษัตริย์มิได้" กล่าวคือ
เพราะเหตุที่พระองค์ท่านทรงตรากฎหมายขึ้น หากกระทบแก่บุคคลใด
บุคคลนั้นหามีสิทธิฟ้องร้องพระมหากษัตริย์เพราะเหตุดังกล่าวมิได้
และบัญญัติรองรับไว้ถึงเหตุอื่นใดจนทุกประการด้วย ในฐานะพระองค์ท่านทรงเป็นพระประมุขของปวงชนชาวไทย
ทรงเป็นพระเจ้าอยู่หัว
(ที่ทรงประทับอยู่เหนือเศียรเกล้วของพวกเราเหล่าชาวไทยทั้งปวง -
เว้นแต่มันผู้ใดที่บังอาจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน
(เจ้าของแผ่นดินไทยโดยแท้)
หลักการข้อนี้
เป็นหลักสากลของประเทศที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขที่ว่า
"The King Can Do No
Wrong"
นอกจากนี้ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
พ.ศ. 2481 และมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร
ได้กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฯ
หรือประมวลรัษฎากร ก็เพื่อบอกให้รู้ว่า กฎหมายนี้
อยู่ในบังคับของกระทรวงการคลังที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอื่นจะเข้ามาก้าวก่ายมิได้โดยเด็ดขาด