การกระทบยอดรายได้ ภ.ง.ด.50 กับยอดขาย ตาม ภ.พ.30
บทความวันที่ 22 ธ.ค. 2562 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 43902 ครั้ง
บทความวันที่ 22 ธ.ค. 2562 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 43902 ครั้ง
การกระทบยอดรายได้ ภ.ง.ด.50 กับยอดขาย ตาม ภ.พ.30
แนวคิดของการกระทบยอดรายได้ ภ.ง.ด.50 กับยอดขาย ตาม ภ.พ.30 ก็เหมือนกับการกระทบยอดบัญชีเงินฝากธนาคารนั่นเอง เพียงแต่ต้องพิจารณาจากทั้งสองด้านประกอบกัน กล่าวโดยสรุปความแตกต่างของยอดรายได้ ภ.ง.ด.50 กับยอดขาย ตาม ภ.พ.30 อาจเกิดขึ้นเนื่องจาก
1.
กิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งบางกิจกรรมให้รับรู้รายได้ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล
แต่ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ต้องรับรู้ หรือในทางตรงกันข้ามบางกิจกรรมไม่ต้องรับรู้รายได้ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล
แต่ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรับรู้
1.1 กิจกรรมที่ต้องรับรู้รายได้ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล
แต่ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ต้องรับรู้ อาทิ
(1) รายได้ดอกเบี้ย
(2)
กำไรจากการขายหลักทรัพย์
(3)
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
(4)
รายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอื่นๆ เช่น รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์
(5)
รายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหลาย (Out of VAT Scope) เช่น
(ก)
รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ จากการส่งเสริมการขาย (ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.
118/2545 ประกอบ) เช่น ค่าแรกเข้า (Entrance Fee) เงินอุดหนุนช่วยเหลือ
เงินให้เปล่า เงินช่วยค่าใช้จ่าย ส่วนลดพิเศษ
(ข)
ค่าปรับเนื่องจากผิดสัญญา
(ค)
ค่าสินไหมทดแทน
(ง)
เงินบริจาค หรือจากการให้โดยเสน่หา
(จ)
รายได้จากการขายทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉ)
รายได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ (Out - Out)
(6)
รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
(7)
รายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการที่รับรู้รายได้ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มจากการรับล่วงหน้าแล้ว
(8)
รายได้ค่าบริการค้างรับ
1.2
กิจกรรมที่ไม่ต้องรับรู้รายได้ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรับรู้
อาทิ
(1)
รายได้รับล่วงหน้าจากการขายสินค้าหรือการให้บริการ
(2)
รายได้ค่าบริการค้างรับที่ได้รับชำระหนี้ในภายหลัง
(3)
เงินมัดจำค่าบริการ
(4)
การจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินหรือสินค้า ที่เข้าลักษณะเป็นการขายในทางภาษีมูลค่าเพิ่ม
แต่ถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น
(ก)
แจกทองให้พนักงาน หรือลูกค้า
(ข)
การแจกรางวัลจากการประกวด แข่งขัน ชิงโชค
(ค)
การแถมสินค้าที่ไม่เป็นไปตามข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) กล่าวคือ เป็นการแถมต่างหาก
หรือแถมตามเงื่อนไข หรือมูลค่าของของแถมเกินมูลค่าสินค้าที่ขายหรือบริการที่ให้
(ง)
การให้ยูนิฟอร์มพนักงานเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
(5)
การแถมบริการ
2.
ความแตกต่างเนื่องจากจำนวนรายได้ที่ต้องรับรู้
2.1
รายได้จากการขายทรัพย์สิน ซึ่งในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล กำหนดให้รับรู้เฉพาะส่วนที่เป็นกำไรหรือขาดทุนเท่านั้น
แต่ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มต้องรับรู้จากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ
2.2
การส่งออกสินค้าในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล กำหนดให้รับรู้ตามเงื่อนไข Incoterm ที่แตกต่างกันไปตามข้อเท็จจริง เช่น Ex-works FOB/CIF DDP แต่ในทางภาษีมูลค่าเพิ่ม กำหนดให้รับรู้เฉพาะราคา FOB ตามมาตรา 79/1 (1) แหงประมวลรัษฎากร เท่านั้น
2.3
กรณีรายได้จากให้บริการ ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล
กำหนดให้รับรู้ตามจำนวนที่ตกลงกัน แต่ในทางภาษีมูลค่าเพิ่ม
กำหนดให้รับรู้เฉพาะมูลค่าที่ได้รับชำระราคาเท่านั้น
3.
ความแตกต่างเนื่องจากกำหนดเวลาในการรับรู้
3.1 การส่งออกสินค้าไปต่างประเทศโดยเรือเดินทะเล
ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลกำหนดให้รับรู้ตาม Incoterm แต่ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มกำหนดให้รับรู้ตามมาตรา
78 (4) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ
เมื่อมีการออกใบขนสินค้าขาออก (Status 0209)
3.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย
เนื่องจากจุดที่เกิดความรับผิดในทางภาษีมูลค่าเพิ่มแตกต่างไปจากจุดที่เกิดรายได้ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล
3.3 รายได้จากการให้บริการเป็นเงินเชื่อ ซึ่งในทางภาษีเงินได้นิติบุคคล กำหนดให้รับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิ กล่าวคือ เมื่อการให้บริการเสร็จสิ้น แต่ในทางภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถเลือกรับรู้ตามเกณฑ์รับชำระ (เกณฑ์เงินสด) ก็ได้
การกระทบยอดรายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ให้เป็นไปตามรายได้ตามแบบ ภ.พ.30
1. ให้นำรายได้ตามแบบ ภ.ง.ด.50 มาตั้งต้น
2. นำรายการรายได้ที่ทำให้รับรู้รายได้ต่ำกว่ารายได้ตามแบบ ภ.พ.30 มาบวกเพิ่ม และ
3. นำรายการรายได้ที่ทำให้รับรู้รายได้สูงกว่ารายได้ตามแบบ ภ.พ.30 มาหักออก
หมายเหตุ
1. ในทางภาษีเงินไตินิติบุคคล
1.1 ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำแนกประเภทรายได้เพื่อการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีอากรออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.1.1 รายได้จากกิจการ หมายถืง รายได้จากการดำเนินกิจการตามกรอบวัตถุประสงค์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งไว้ โดยไม่ได้จำแนกแยกแยะว่า เป็นราได้จากการขายสินค้า หรือการให้บริการใด ๆ รวมทั้งดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืม และเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร ซึ่งมีทั้งรายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 หรือร้อยละ 0 ตามมาตรา 77/2 (1) ประกอบมาตรา 77/1 (8) (9) (10) แห่งประมวลรัษฎากร หรือได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่นับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และรายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of VAT Scope) หรืออยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2 หรือมาตรา 91/3 แห่งประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือในต่างประเทศก็ตาม
1.1.2 รายได้เนื่องจากกิจการ หมายถึง รายได้อื่นที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะหารายได้ในส่วนนี้ หากเป็นรายได้ที่เป็นผลเนื่องมาจากการประกอบกิจการหลัก อาทิ กำไรจากการขายทรัพย์สิน ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ค่าปรับเนื่องจากการผิดสัญญา ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินบริจาค เงินอุดหนุนช่วยเหลือ รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ จากการส่งเสริมการขาย รางวัลจากการประกวด แข่งขัน ชิงโชค
1.2 การรับรู้รายได้รายจ่ายในการคำนวณกำไรและขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรตามเกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) โดยให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีทั้งที่ได้รับชำระ และยังมิได้รับ (เงินเชื่อ) มาถือรวมเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายต้นทุนทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้ ตามหลักการจับคู่ของรายจ่ายและรายได้ หรือ Matching Principle และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการที่เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะได้จ่าย หรือชำระเงิน สำหรับรายการรายจ่ายนั้นหรือไม่ก็ตาม มาถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
2. ในทางภาษีมูลค่าเพิ่ม
รายได้หรือรายรับในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.1 รายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7.0 ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบด้วย
2.1.1 รายได้จากการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักร และมีการบริโภคสินค้าหรือบริการนั้นในราชอาณาจักร (In - In) ตามมาตรา 77/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
2.1.2 รายได้จากการให้บริการในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ เฉพาะการให้บริการนำเที่ยวในต่างประเทศ
2.2 รายได้ที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบด้วย
2.2.1 การส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 ประกอบ)2.2.2 การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) ประกอบ)
การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ให้รวมถึงการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอากรเพื่อส่งออก และการให้บริการที่กระทำในเขตดังกล่าวเพื่อใช้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกด้วย
(ดู คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.104/2544 ประกอบ)
2.2.3 การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเลที่กระทำโดยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล
2.2.4 การขายสินค้าหรือการให้บริการกับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจตามโครงการเงินกู้หรือเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 227) ประกอบ)
2.2.5 การขายสินค้าหรือการให้บริการให้แก่
(1) องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ สถานเอกอัครราชทูต สถานทูต สถานกงสุลใหญ่ สถานกงสุล
(2) องค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีพันธกรณีตามความตกลงที่จะต้องปฏิบัติเท่าเทียมกับสถานเอกอัครราชทูต องค์การสหประชาชาติหรือทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ
(3) สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 49) พ.ศ. 2562 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป)
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 227) ประกอบ)
2.2.6 การขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับคลังสินค้าทัณฑ์บน หรือระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ไม่ว่าจะอยู่ในเขตเดียวกันหรือไม่ หรือระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บนกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ทั้งนี้ เฉพาะการขายสินค้าหรือการให้บริการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
(ดู ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) ประกอบ)
คลังสินค้าทัณฑ์บนตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความถึงคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
2.3 รายได้ที่นับรวมเป็นมูลค่าของฐานภาษี (Non VAT Base) คือ กิจกรรมการขายสินค้าหรือการให้บริการที่แม้จะเข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กฎหมายก็กำหนดให้ไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้าหรือบริการดังกล่าวมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีเพื่อการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยยังคงให้นำภาษีซื้อสำหรับกิจกรรมดังกล่าวมาใช้เป็นเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
2.3.1 ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการและได้หักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการ โดยได้แสดงให้เห็นไว้ชัดแจ้งว่าได้มีการหักส่วนลดหรือค่าลดหย่อนไว้ในใบกำกับภาษีในแต่ละครั้งที่ออกแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนในการขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 หรือมาตรา 86/7 ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะไม่แสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวให้เห็นชัดแจ้งไว้ในใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ได้ (มาตรา 79 วรรคสาม (1) แห่งประมวลรัษฎากร)
2.3.2 มูลค่าของการให้บริการเนื่องจากการเป็นนายหน้าตัวแทนให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่ผู้ประกอบการในต่างประเทศดังกล่าวขายสินค้าหรือให้บริการกับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการในต่างประเทศด้วยกัน (ข้อ 2 (3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ฯ )
2.3.3 มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในราชอาณาจักร และผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามมาตรา 77/1 (11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร (5) มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน และผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร ดังกล่าวซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามมาตรา 77/1 (11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร (ข้อ 2 (4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ฯ )
2.2.4 มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในราชอาณาจักร และผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามมาตรา 77/1 (11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว
ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร (ข้อ 2 (4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ฯ )
2.3.4 มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียน และผู้ประกอบการในเขตปลอดอากร ดังกล่าวซึ่งเป็นผู้นำเข้าตามมาตรา 77/1 (11) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นกระทำพิธีการนำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรเมื่อนำสินค้านั้นออกจากเขตปลอดอากรแล้ว
ผู้ซื้อสินค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องมิใช่ผู้ประกอบการในเขตปลอดอากรตามมาตรา 77/1 (21) แห่งประมวลรัษฎากร หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร (ข้อ 2 (5) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ฯ )
2.3.5 มูลค่าของสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16 แห่งประมวลรัษฎากร ได้ขายให้แก่ผู้ซื้อ โดยสินค้าดังกล่าวผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายได้นำเข้าจากต่างประเทศ และได้โอนสินค้าให้ผู้ซื้อยื่นใบขนสินค้าขาเข้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากร เพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ตามมาตรา 83/8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าจะต้องมีสำเนาใบเสร็จรับเงินของกรมศุลกากรที่ออกให้ผู้ซื้อพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้ (ข้อ 2 (9) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ฯ )
2.3.6 มูลค่าของค่าตอบแทนที่พึงได้รับจากการมอบสินค้าให้ผู้ซื้อสินค้าทดสอบใช้งานก่อนซื้อ โดยสินค้าดังกล่าวไม่ใช่ของใช้สิ้นเปลืองและต้องเป็นสินค้าที่มีไว้สำหรับให้ทดลองใช้เป็นการชั่วคราว เพื่อทดลองคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสินค้าเท่านั้น และผู้ซื้อสินค้าจะต้องส่งมอบสินค้าดังกล่าวคืนให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ขายสินค้าเมื่อทดลองใช้เสร็จ (ข้อ 2 (11) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ฯ )
2.3.7 มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายเป็นจำนวนเท่ากับราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืนในวันที่ขายทองรูปพรรณ ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า
ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วย
ทองรูปพรรณตามวรรคสอง หมายความรวมถึงนากที่สามารถคำนวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน (ข้อ 2 (14) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ฯ )
2.3.8 มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายซึ่งผู้ขายฝากใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินคืนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นจำนวนเท่ากับราคาขายฝากที่กำหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ เฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ซึ่งมีใบอนุญาตค้าของเก่าตามกฎหมายว่าด้วยการค้าของเก่า
หากมิได้กำหนดราคาขายฝากไว้มูลค่าของทองรูปพรรณที่ขายฝากตามวรรคหนึ่งให้เป็นจำนวนเท่ากับร้อยละ 85 ของราคาสินไถ่ที่กำหนดไว้ตามสัญญาขายฝาก
สินไถ่ คือ จำนวนเงินที่ผู้ขายฝากหรือผู้มีสิทธิไถ่ตามกฎหมาย จะต้องนำมาชำระให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้มีหน้าที่รับไถ่ เมื่อมาใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้น
ทองรูปพรรณตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ทองคำที่ทำสำเร็จเป็นเครื่องประดับกาย เครื่องแต่งกาย ของชำร่วย หรือสิ่งของต่างๆ ที่มีไว้เพื่อโชว์ ทั้งนี้ ต้องไม่มีอัญมณีประกอบอยู่ด้วยและหมายความรวมถึงนากที่สามารถคำนวณราคารับซื้อคืนได้ตามส่วนของราคาทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำประกาศรับซื้อคืน (ข้อ 2 (14/1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) ฯ )
2.4 รายได้ที่ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Out of VAT Scope) คือ กิจกรรมที่ก่อให้เกิดรายได้ ที่มิใช่การขายสินค้าหรือการให้บริการที่อยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อาทิ
2.4.1 การนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ (มาตรา
2.5 รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Exemption) คือ กิจกรรมการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81 (1) (ก) - (น) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับอื่นๆ อาทิ
2.5.1 การขายสินค้าเกษตร ที่เป็นผลผลิตจากเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และการประมง ทั้งนี้ เฉพาะที่ยังมิได้แปรรูป หรือแปรรูปเบื้องต้น ได้แก่
(1) การขายพืชผลทางการเกษตร (มาตรา 81 (1) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร)
(2) การขายสัตว์ (มาตรา 81 (1) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร)
2.5.2 การขายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร
ได้แก่
(1) การขายปุ๋ย (มาตรา 81 (1) (ค) แห่งประมวลรัษฎากร)
(2) การขายปลาป่น อาหารสัตว์ (มาตรา 81 (1) (ง) แห่งประมวลรัษฎากร)
(3) การขายยา, เคมีภัณฑ์ที่ใช้เพื่อบำรุง รักษา ป้องกัน ทำลาย หรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชหรือสัตว์ (มาตรา 81 (1) (จ) แห่งประมวลรัษฎากร)
2.5.3 การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน (มาตรา 81 (1) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร)
2.5.4 การให้บริการที่จำเป็นต่อการครองชีพและบริการที่เป็นสวัสดิการสังคม ได้แก่
(1) การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาทั้งของทางราชการ และเอกชน (มาตรา 81 (1) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร)
(2) การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาล (มาตรา 81 (1) (ญ) แห่งประมวลรัษฎากร)
(3) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร (มาตรา 81 (1) (ณ) แห่งประมวลรัษฎากร)
(4) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล (มาตรา 81 (1) (ด) แห่งประมวลรัษฎากร)
(5) การให้บริการของสถาบัน AIT เนติบัณฑิตยสภา
2.5.5 การให้บริการที่เป็นสื่อวัฒนธรรม และพลานามัย ได้แก่
(1) การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ (มาตรา 81 (1) (ฏ) แห่งประมวลรัษฎากร)
(2) การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น (มาตรา 81 (1) (ฑ) แห่งประมวลรัษฎากร)
(3) การให้บริการเป็นงานทางศิลปะ
และวัฒนธรรมในสาขานาฏศิลป์ หรือดุริยางคศิลป์
ที่มิได้เรียกเก็บค่าบริการโดยตรงจากผู้ชม หรือผู้ฟัง
แต่ไม่รวมถึงการให้บริการโดยกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น (มาตรา 81
(1) (ซ) )
2.5.6 การให้บริการที่มีลักษณะคล้ายการใช้แรงงาน และปัจจัยการผลิต ได้แก่
(1) การให้บริการด้านการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี และการว่าความ (มาตรา 81 (1) (ฌ) แห่งประมวลรัษฎากร)
(2) การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการในสาขาวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ที่มิใช่เป็นการกระทำในทางธุรกิจ ที่กระทำโดยบุคคลธรรม คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือมูลนิธิ (มาตรา 81 (1) (ฏ) แห่งประมวลรัษฎากร)
(3) การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน (มาตรา 81 (1) (ฐ) แห่งประมวลรัษฎากร)
(4) การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ (มาตรา 81 (1) (ฒ) แห่งประมวลรัษฎากร)
(5) การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ (มาตรา 81 (1) (ต) แห่งประมวลรัษฎากร)2.5.7 การขายสินค้าหรือการให้บริการอื่น ๆ อาทิ
(1) การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ที่ไม่เป็นการพาณิชย์ (มาตรา 81 (1) (ถ) แห่งประมวลรัษฎากร)
(2) การขายสินค้า หรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย (มาตรา 81 (1) (ท) แห่งประมวลรัษฎากร)
(3) การขายสินค้าตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 239) (มาตรา 81 (1) (น) แห่งประมวลรัษฎากร)
(4) การให้บริการตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 239) (มาตรา 81 (1) (น) แห่งประมวลรัษฎากร)