ราคาตลาดตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร กับการถ่ายโอนกำไร โดยกลไกราคา (Transfer Pricing: TP) ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
บทความวันที่ 30 พ.ย. 2562 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 3271 ครั้ง
ราคาตลาดตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร กับการถ่ายโอนกำไร โดยกลไกราคา (Transfer Pricing: TP) ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
บทความวันที่ 30 พ.ย. 2562 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 3271 ครั้ง
ราคาตลาดตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร กับ
การถ่ายโอนกำไร โดยกลไกราคา (Transfer Pricing: TP) ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ขอนำประเด็นราคาตลาดตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร กับการถ่ายโอนกำไร โดยกลไกราคา (Transfer Pricing: TP) ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร มาแยกพิจารณา เพือเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่าง ในอันที่จะนำไปถือปฏิบัติกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป
1. กรณีราคาตลาดตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร
1.1 เป็นอำนาจเจ้าพนักงานประเมิน ในอันที่จะประเมินรายได้จากการโอนทรัพย์สิน รวมทั้งการขายสินค้า รายได้จากการให้บริการ และรายได้จากการให้กู้ยืมเงิน ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทีมีผลตอบแทนจากการโอนทรัพย์สิน (ขายสินค้า) การให้บริการ หรือการให้กู้ยืม ให้เป็นไปตามราคาตลาด ณ วันที่เกิดกิจกรรมอันก่อให้เกิดเงินได้นั้น
1.2 สาเหตุของการประเมินรายได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเจ้าพนักงานประเมิน ได้ทำการตรวจสอบรายได้ที่เป็นผลตอบแทนจากการโอนทรัพย์สิน (ขายสินค้า) ให้บริการ หรือให้กุ้ยืมเงิน และได้พิจารณาเห็นว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลน้ันมีผลตอบแทนดังกล่าวไม่เป็นไปตามราคาตลาด กล่าวคือ ไม่ได้รับผลตอบแทนเลย หรือได้รับผลตอบแทนแต่ต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือเป็นประเด็นสำคัญของการตรวจสอบความถูกต้องด้านรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
1.3 เป็นการประเมินรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้โอนทรัพย์สิน (ขายสินค้า) ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน ด้านเดียว โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนของคู่สัญญา และไม่มีบทบัญญัติยอมให้เพิ่มต้นทุนของคู่สัญญา
1.4 เป็นกฎหมายทั่วไป เมื่อเทียบเคียงกับบทบัญญัติมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีการถ่ายโอนกำไรตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
2.1 กรณีที่ถือได้ว่า มีการถ่ายโอนกำไร โดยกลไกราคา (Transfer Pricing: TP) เพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีอากรที่พึงต้องเสีย
(1) กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังนี้
(ก) นิติบุคคลหนึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด
(ข) ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของทุนทั้งหมด หรือ
(ค) นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุมในลักษณะ ที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการโดยอิสระจากอีกนิติบุคคลหนึ่งตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันดังกล่าว มีข้อกำหนดทางด้านการพาณิชย์หรือการเงินระหว่างกันแตกต่างไปจากที่ควรได้กำหนด โดยมีการถ่ายโอนกำไร โดยกลไกราคา (Transfer Pricing: TP) เพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีอากรที่พึงต้องเสีย
2.2 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจปรับปรุงรายได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนทางด้านผู้มีรายได้ และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทางด้านผู้มีรายจ่าย ให้ได้จำนวนรายได้ที่พึงได้รับและรายจ่ายที่พึงได้จ่าย เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและหลักความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี
2.3 หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้ดำเนินการโดยอิสระเสมือนว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวได้รับและได้จ่ายตามนั้น เพื่อใช้คำนวณกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 65 หรือเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 70 หรือมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
2.4 กำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมีรายได้เกินกว่ารายได้ขั้นต่ำตามจำนวนที่จะกำหนดในกฎกระทรวง จัดทำรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในรอบระยะเวลาบัญชีตามแบบที่อธิบดีกำหนด และยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นรายการภายในกำหนดเวลาตามมมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร (มาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร)
อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 71 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน และมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 กำหนดแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ดังต่อไปนี้
"ข้อ 1 ให้แบบรายงานประจ าปีส าหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ที่แนบท้ายประกาศนี้ เป็นแบบรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันและมูลค่ารวมของธุรกรรมระหว่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อ 2 แบบรายงานประจำปีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ตามมาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (Disclosure Form) ตามข้อ 1 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พิมพ์จากระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ในการยื่นกับกรมสรรพากร
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการยื่นแบบตามข้อ 1 ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป"
https://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dgpareport1.pdf
2.5 ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายงานตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดี อาจแจ้งให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันซึ่งมีรายได้เกินกว่ารายได้ขั้นต่ำตามจำนวนที่จะกำหนดในกฎกระทรวง ยื่นเอกสารหรือหลักฐานแสดงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับวิเคราะห์การกำหนดราคาโอนของธุรกรรมระหว่างกันตามที่อธิบดีประกาศกำหนด และผู้ได้รับแจ้งต้องปฏิบัติตามภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นจนไม่สามารถปฏิบัติได้ อธิบดีจะขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง (มาตรา 71 ตรี วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
2.6 บทกำหนดโทษปรับทางอาญา สำหรับผู้ใดที่ไม่ยื่นรายงานหรือเอกสารหรือหลักฐานตามมาตรา 71 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร หรือยื่นรายงานหรือเอกสารหรือหลักฐานโดยแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท (มาตรา 35 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร)