ขั้นตอนการเลิกและการขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน
บทความวันที่ 6 เม.ย. 2562 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 18776 ครั้ง
บทความวันที่ 6 เม.ย. 2562 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 18776 ครั้ง
ขั้นตอนการเลิกและการขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน
กิจการเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ขนาดเล็ก และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อยากทราบว่ากรณีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนเลิกกิจการ เพื่อความถูกต้องและครบถ้วน ห้างฯ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง และยื่นแบบอะไรบ้างครับ
ขั้นตอนการเลิกและการขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน
1. การเลิกห้างหุ้นส่วน แบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ
1.1 เลิกโดยผลของกฎหมาย
(1) กรณีกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
(2) ตั้งห้างโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
(3) ตั้งห้างเพื่อทากิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทากิจการนั้นเสร็จแล้ว
(4) หุ้นส่วนบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบปีบัญชี และได้บอกเลิกก่อน 6 เดือน
(5) หุ้นส่วนตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามาร
(6) ห้างหุ้นส่วนล้มละลาย
(7) เมื่อวัตถุประสงค์ของห้างกลายเป็นผิดกฎหมาย
(8) หุ้นส่วนเหลือเพียงคนเดียว
1.2 โดยความประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วน
(1) ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนลงมติให้เลิก
(2) หุ้นส่วนฝ่าฝืนกฎหมายเรื่องค้าแข่งกับห้าง และหุ้นส่วนอื่นลงมติให้เลิก
1.3 เลิกโดยคาสั่งศาล เหตุร้องศาลให้สั่งเลิกมี 3 กรณี คือ
(1) หุ้นส่วนจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงฝ่าฝืนข้อสัญญาตั้งห้างที่มีนัยสาคัญ
(2) กิจการห้างมีแต่ขาดทุน ไม่มีหวังฟื้นคืน
(3) มีเหตุที่เหลือวิสัยที่ห้างจะดำรงอยู่ได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจากัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลเลิกกัน ห้างนั้นจะยังคงตั้งอยู่เพื่อการชาระบัญชี การเลิกห้างกรณีอื่นนอกจากล้มละลายต้องมีการแต่งตั้งผู้ชาระบัญชี เพื่อดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างและชาระบัญชีของห้างให้เสร็จสิ้นไป เช่น การรวบรวมทรัพย์สิน ชาระหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่หุ้นส่วนผู้จัดการได้ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนห้าง หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนและเฉลี่ยเป็นกาไรในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนและจดทะเบียนเสร็จการชาระบัญชี เมื่อได้จดทะเบียนเสร็จการชาระบัญชีแล้ว การฟ้องคดีเรียกหนี้สินที่ห้างหุ้นส่วน ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ชาระบัญชีเป็นหนี้อยู่นั้นจะต้องทาการฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันเสร็จสิ้นการชาระบัญชี
ผู้ชาระบัญชีของห้างหุ้นส่วนได้แก่ หุ้นส่วนผู้จัดการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก หุ้นส่วนผู้จัดการทุกคนต้องเข้าเป็นผู้ชาระบัญชีโดยผลของกฎหมาย ถ้าผู้ชำระบัญชีมีหลายคน ผู้ชำระบัญชีทุกคนต้องกระทำการร่วมกันเว้นแต่ที่ประชุมใหญ่หรือศาลจะได้กำหนดอำนาจไว้เป็นอย่างอื่นในเวลาตั้งผู้ชำระบัญชี
2. ยื่นขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วนต่อนายทะเบียน
3. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
4. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี) ขั้นตอนตาม 2. - 4. ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกห้างหุ้นส่วนการขอจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน
ข้อมูลที่ต้องใช้
1. วันที่เลิกห้างหุ้นส่วน
2. ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ และอายุของผู้ชำระบัญชี
3. อำนาจผู้ชำระบัญชี
4. ที่ตั้งสานักงานของผู้ชำระบัญชี
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิก
1. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
2. รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2) *ผู้ชำระบัญชีต้องลงลายมือชื่อทุกคน*
3. สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกห้างหุ้นส่วน (ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เลิก)
4. สำเนาสัญญาของห้างหุ้นส่วนหรือข้อตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนที่ตกลงหรือให้ความยินยอมในการตั้งผู้อื่นเป็นผู้ชำระบัญชีหรือตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียวหรือหุ้นส่วนผู้จัดการบางคนเป็นผู้ชำระบัญชี และกำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชี (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่หุ้นส่วนผู้จัดการทุกคนตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
5. สำเนาใบมรณบัตร (ใช้เฉพาะกรณีหุ้นส่วนผู้จัดการถึงแก่กรรม)
6. แผนที่แสดงที่ตั้งสานักงานของผู้ชำระบัญชีและสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป (ใช้เฉพาะกรณีสานักงานของผู้ชำระบัญชีมิใช่ที่ตั้งสานักงานแห่งใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
7. สำเนาบัตรประจาตัวของผู้ชำระบัญชีที่ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน
8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
9. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
สำเนาเอกสารประกอบคาขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจาตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
แบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน
สามารถขอและซื้อได้ที่หน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทุกแห่งหรือ Download ได้จาก www.dbd.go.th
การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1) ให้ลงลายมือชื่อโดยผู้ชำระบัญชีซึ่งได้แก่ หุ้นส่วนผู้จัดการที่ลงลายมือชื่อผูกพันห้างหุ้นส่วนตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก ถ้าผู้ชำระบัญชีมีหลายคน ทุกคนต้องกระทำการร่วมกันเว้นแต่ที่ประชุมใหญ่หรือศาลจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การลงลายมือชื่อและการ กรอกข้อมูลในรายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2) ให้ระบุรายละเอียดของผู้ชำระบัญชีทุกคนพร้อมทั้งให้ลงลายมือชื่อ
อัตราค่าธรรมเนียม
1. ค่าธรรมเนียมเลิก 400 บาท
2. หนังสือรับรองฉบับละ 120 บาท
3. รับรองสำเนาเอกสารคาขอจดทะเบียนหน้าละ 50 บาท
สถานที่จดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4 ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าทั้ง 6 เขต
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น ยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ห้างหุ้นส่วนมีสานักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
3. ยื่นจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th.
ที่มา: http://www.dbd.go.th/download/downloads/03_boj/detail5_intro9.pdf