ความแตกต่างของภาษีเงินได้หัก ณ ทีจ่าย ตาม มาตรา 70 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนของค่าจ้างทำของ
บทความวันที่ 24 ก.ย. 2561 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 21789 ครั้ง
บทความวันที่ 24 ก.ย. 2561 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 21789 ครั้ง
ความแตกต่างของภาษีเงินได้หัก ณ ทีจ่าย ตาม
มาตรา 70 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนของค่าจ้างทำของ
ปุจฉา: บริษัทไทยได้จ่ายค่าจ้างบริหารหรือค่าจ้างทำของตามมาตรา 40
(8) ให้แก่บริษัทต่างประเทศ (สิงคโปร์)
ซึ่งไม่มีตัวแทนหรือสาขาในประเทศไทยแต่อย่างใด
โดยบริษัทต่างชาติได้มีการให้บริการแก่บริษัทไทยในประเทศไทยด้วยโดยบริษัทไทยได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้แบบ
ภ.พ.36 แต่ไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย เนื่องจากเข้าใจว่าไม่มีหน้าที่นำส่ง
ขอเรียนถามว่า
กรณีจ่ายค่าบริหารหรือค่าจ้างทำของ
จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตาม ท.ป. 4/2528 ข้อ 12 หรือไม่ และจะต้องใช้แบบ ภ.ง.ด.53
หรือแบบ ภ.ง.ด.54 ในการนำส่ง
และในกรณีนี้บริษัทต่างประเทศจะได้รับยกเว้นเงินได้ตาม DTA
ไทยกับสิงคโปร์ได้หรือไม่
ขอบคุณครับ
วิสัชนา:
ความแตกต่างของภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ
ที่จ่ายตามมาตรา 70 และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
กรณีจ่ายเงินได้จ้างทำของให้แก่บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70
แห่งประมวลรัษฎากร
1. เป็นกฎหมายพิเศษ (Special
Law) เมื่อเทียบกับมาตรา 3 เตรส
แห่งประมวลรัษฎากร
2. เพราะบังคับใช้เฉพาะกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิตบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
และมิได้ประกอบกิจการในประเทศ โดยได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย
ตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
3. ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าทีหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นในภาคเอกชน รวมทั้้ง รัฐบาล
องค์การของรัฐบาล เทศบาล องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
4.
ประเภทเงินได้พึงประเมินที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ทีจ่ายในกรณีนี้ ได้แก่
เงินได้พึงประเมินจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย ตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6)
แห่งประมวลรัษฎากร ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย
5. อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
โดยทั่วไปอัตรา 15% ของเงินได้ เว้นแต่เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา
40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 10%
6. ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนึงถืงอนุสัญญาภาษีซ้อน (DTA) ที่ประเทศไทยได้กระทำกับประเทศอันเป็นถิ่นทีอยู่หรือสัญชาติของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าว ว่าตามอนุสัญญาภาษีซ้อนกำหนดยอมให้ประเทศไทยจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเงินได้พึงประเมินประเภทนั้นหรือไม่
7. แบบที่ใช้นำส่ง ได้แก่ ภ.ง.ด.54
8. กำหนดเวลานำส่ง
ภายในวันที่เจ็ดของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
เว้นแต่ยื่นรายการทางอินเทอร์เน็ต จะได้รับการขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน
9. ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา
70 แห่งประมวลรัษฎากรนี้ ไม่ถือเป็นเครดิตภาษีของผู้มีเงินได้
หากผู้จ่ายเงินได้คำนวณหัก และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายในกรณีโดยถูกต้อง
ก็เป็นอันพ้นจากความรับผิดร่วมกันตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร จึงได้ชื่อว่า
เป็น "ภาษีเบ็ดเสร็จเด็ดขาด" (Final Tax) ผู้มีเงินได้ไม่มีหน้าทีต้องยื่นแบบแสดงรายการในประเทศไทยใดๆ
อืก
10. การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ทีจ่าย
ให้ขอคืนตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3
เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
1. เป็นกฎหมายทั้่วไป (General
Law) เมื่อเทียบกับมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
2. บังคับใช้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิตบุคคล
ทั้งที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย และที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
และประกอบกิจการในประเทศไทย โดยได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย ตามมาตรา
40 (2) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิตบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
และประกอบกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 66 มาตรา 66 วรรคสอง มาตรา 67 และมาตรา 76
ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และได้รับเงินได้จากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย ตามมาตรา 40
(2) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร จากผู้จ่ายเงินได้ตามข้อ 3 จึงจะถูกหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่ายในกรณีนี้
3. ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าทีหักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย
3.1
กรณีค่าจ้างทำของทั่วไป ตามมาตรา 40 (7) - (8)
แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทย
ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
หรือนิติบุคคลอื่นในภาคเอกชน
3.2
กรณีค่าจ้างทำของ ตามมาตรา 40 (7) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิตบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
และประกอบกิจการในประเทศไทย
โดยไม่มีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทย ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นในภาคเอกชน
4.
ประเภทเงินได้พึงประเมินที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ทีจ่ายในกรณีนี้ ได้แก่
เงินได้พึงประเมินจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย ตามมาตรา 40 (2) - (8)
แห่งประมวลรัษฎากร โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นค่าจ้างทำของ
5. อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
5.1
กรณีค่าจ้างทำของทั่วไป ตามมาตรา 40 (7) - (8)
แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และประกอบกิจการในประเทศไทย
โดยมีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทยอัตรา 3% ของเงินได้
5.2
กรณีค่าจ้างทำของ ตามมาตรา 40 (7) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และประกอบกิจการในประเทศไทย
โดยไม่มีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทย ในอัตรา 5% ของเงินได้
6. ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องคำนึงถืงอนุสัญญาภาษีซ้อน (DTA) ที่ประเทศไทยได้กระทำกับประเทศอันเป็นถิ่นที่อยู่หรือสัญชาติของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศดังกล่าว ให้คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ได้ทันที เนื่องจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เข้ามาตั้งสาขาในการประกอบกิจการในประเทศไทย หรือมีกรณีอื่นที่ถือได้ว่า ครบองค์ประกอบของการมีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย (P/E:Permanent Establishment)
7. แบบที่ใช้นำส่ง ได้แก่ ภ.ง.ด.53
8. กำหนดเวลานำส่ง ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
เว้นแต่ยื่นรายการทางอินเทอร์เน็ต จะได้รับการขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน
9. ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3
เตรส แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 นี้
กำหนดให้ถือเป็นเครดิตภาษีของผู้มีเงินได้ ตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร
10. การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ทีจ่าย
ให้ขอคืนตามมาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร
ตารางสรุปความแตกต่างของภาษีเงินได้หัก
ณ ทีจ่าย ตาม
มาตรา 70
และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร
|
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก
ณ ที่จ่าย |
|
ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร |
ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร |
|
1.
ประเภทกฎหมาย |
กฎหมายพิเศษ
(Special
Law) |
กฎหมายทั่วไป
(General
Law) |
2.
บังคับใช้กับบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ
ตปท. |
ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย โดยไม่มีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทย |
ที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม |
3.
ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ
ที่จ่าย |
บุคคล
ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
หรือนิติบุคคลอื่นในภาคเอกชน รวมทั้้ง รัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล
องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น |
(1)
กรณีประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทย
ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นในภาคเอกชน (2)
กรณีประกอบกิจการในประเทศไทย โดยไม่มีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทย
ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นในภาคเอกชน |
4.
ประเภทเงินได้พึงประเมินที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้
ณ ทีจ่าย |
เงินได้พึงประเมินจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย
ตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย |
เงินได้พึงประเมินจากแหล่งเงินได้ในประเทศไทย
ตามมาตรา 40 (2) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นค่าจ้างทำของ |
5.
อัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย |
โดยทั่วไปอัตรา 15% ของเงินได้
เว้นแต่เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร
ในอัตรา 10% |
(1)
กรณีประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทย
อัตรา 3.0% ของเงินได้ (2)
กรณีประกอบกิจการในประเทศไทย โดยไม่มีสถานประกอบการสาขาเป็นการถาวรในประเทศไทย
อัตรา 5% ของเงินได้ |
6.
การคำนึงถืงอนุสัญญาภาษีซ้อน (DTA) |
ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนึงถืงอนุสัญญาภาษีซ้อน
(DTA) อย่างมาก |
ผู้จ่ายเงินได้ไม่ต้องคำนึงถืงอนุสัญญาภาษีซ้อน (DTA) เนื่องจากผู้รับจ้างประกอบกิจการในเทศไทย (ก้าวพ้น DTA มาแล้ว) |
7. แบบที่ใช้นำส่ง |
ภ.ง.ด.54 |
ภ.ง.ด.53 |
8.
กำหนดเวลานำส่ง |
ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน
เว้นแต่ยื่นรายการทางอินเทอร์เน็ต จะได้รับการขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน |
เช่นเดียวกัน
|
9.
การถือเป็นเครดิตภาษีของผู้มีเงินได้ |
Final
Tax ไม่ถือเป็นเครดิตภาษีตามประมวลรัษฎากรของผู้มีเงินได้ |
ถือเป็นเครดิตภาษีตามประมวลรัษฎากรของผู้มีเงินได้
ตามมาตรา 60 แห่งประมวลรัษฎากร |
10.
การขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ทีจ่าย |
มาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร |
มาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร |
ดังนั้น กรณีบริษัทไทยได้จ่ายค่าจ้างบริหารหรือค่าจ้างทำของตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งไม่มีตัวแทนหรือสาขาในประเทศไทยแต่อย่างใด โดยบริษัทต่างชาติได้มีการให้บริการแก่บริษัทไทยในประเทศไทยด้วย บริษัทไทยได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มโดยใช้แบบ ภ.พ.36 โดยไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งตามแบบ ภ.ง.ด.54 เนื่องจากเนื่องจากผู้มีเงินได้มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย และเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อยู่ในบังคับทีต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และบริษัทในประเทศสิงคโปร์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย เพราะไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย จึงได้รับยกเว้นเงินได้ตาม DTA ไทยกับสิงค์โปร์