ภาษีการรับมรดก (5)
บทความวันที่ 2 ส.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 2563 ครั้ง
บทความวันที่ 2 ส.ค. 2559 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 2563 ครั้ง
9.2.4 ผู้ใด (มาตรา 37)
(1) โดยรู้อยู่แล้วหรือจงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษีการรับมรดก
(2) โดยความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกงหรือใช้อุบายโดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีการรับมรดก หรือ
(3) แนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นใดกระทำการตาม (1) หรือ (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
9.2.5 บรรดาความผิดตามมาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 37 ให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจเปรียบเทียบได้ (มาตรา 38)
ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดแล้ว มิให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกถูกฟ้องร้องต่อไปในกรณีแห่งความผิดนั้น
ถ้าอธิบดีกรมสรรพากรเห็นว่าไม่ควรใช้อำนาจเปรียบเทียบ หรือเมื่อเปรียบเทียบแล้วผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกไม่ยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือยอมแล้วแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบกำหนดให้ดำเนินการฟ้องร้องต่อไป และในกรณีนี้ห้ามมิให้ดำเนินการเปรียบเทียบตามกฎหมายอื่นอีก
10. บทสรุป
ภาษีการรับมรดกเป็นภาษีอากรประเมินอีกประเภทหนึ่ง แต่บัญญัติจัดเก็บแยกต่างหากจากประมวลรัษฎากร แต่ก็มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการรับให้โดยเสน่หา ซึ่งบัญญัติจัดเก็บภาษีขึ้นพร้อมกัน กล่าวคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการรับให้โดยเสน่หาเป็นกรณีที่ผู้ให้โดยเสน่หายังคงมีชีวิตอยู่ ในขณะที่ภาษีการรับมรดกเป็นกรณีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปแล้ว ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการรับให้โดยเสน่หาจึงอาจเกิดขึ้นได้ในหลายปีภาษี ในขณะที่ภาษีการรับมรดกมีได้เพียงครั้งเดียวสำหรับเจ้ามรดกแต่ละราย โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559
การเสียภาษีการรับมรดกและการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีการรับมรดกให้ถูกต้อง ครบถ้วนบริบูรณ์เป็นการขจัดปัญหาทางภาษีการรับมรดกได้โดยสิ้นเชิง เช่นเดียวกับภาษีอากรประเภทอื่นๆ
กล่าวโดยสรุป
10.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกและผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีการรับมรดก
10.1.1 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ได้แก่
(1) บุคคลผู้มีสัญชาติไทย รวมทั้งวนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมายไทย หรือมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละห้าสิบของทุนจดทะเบียนที่ชาระแล้วในขณะมีสิทธิได้รับมรดก หรือมีผู้มีสัญชาติไทยเป็นผู้มีอานาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของคณะบุคคลซึ่งมีอานาจบริหารกิจการทั้งหมด เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
(2) บุคคลธรรมดาผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
(3) บุคคลผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
10.1.2 บุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีการรับมรดก ได้แก่
(1) ผู้ที่ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกที่ตายก่อนวันที่กฎหมายใช้บังคับ
(2) คู่สมรสของเจ้ามรดก
(3) บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
(4) หน่วยงานของรัฐและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษา หรือกิจการสาธารณประโยชน์
(5) บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกันกับนานาประเทศ
10.2 ฐานภาษีการรับมรดกและทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก
10.2.1 มรดกที่ผู้รับมรดกได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท
(1) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย หรือบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศไทย
(2) บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ได้แก่ ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย
10.2.2 มรดกซึ่งต้องเสียภาษี ได้แก่ ทรัพย์สินดังต่อไปนี้
(1) อสังหาริมทรัพย์
(2) หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(3) เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธิเรียกถอนคืนจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้
(4) ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
(5) ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา
10.2.3 ให้ใช้ราคาหรือมูลค่าอันพึงมีในวันที่ได้รับมรดก ดังนี้
(1) กรณีอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์ของอสังหาริมทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน หักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
(2) กรณีหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้ถือเอาราคาของหลักทรัพย์ในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันได้รับมรดก
(3) กรณีอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง
10.3 อัตราภาษีการรับมรดกของมูลค่ามรดกในส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท
กรณีผู้ได้รับมรดกที่มิใช่บุพการี หรือผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก
กรณีผู้ได้รับมรดกเป็นบุพการี หรือผู้สืบสันดานให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดกในส่วนที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก
10.4 วิธีการเสียภาษีการรับมรดก
10.4.1 การยื่นแบบแสดงรายการภาษีและการชาระภาษีการรับมรดก
(1) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องยื่นแบบตามที่อธิบดีกำหนดภายใน 150 วัน นับแต่วันที่ได้รับมรดกซึ่งมีมูลค่ารวมเกินกว่า 100 ล้านบาท หรือภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีขยายให้ โดยจะยื่นและชำระ ณ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
ในกรณีที่ผู้รับมรดกเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการแทน
(2) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะผ่อนชาระภาษีภายในเวลาไม่เกิน 5 ปีก็ได้
กรณีผ่อนชำระครบถ้วนภายใน 2 ปี ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม
กรณีผ่อนชำระครบถ้วนเกิน 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี ให้เสียเงินเพิ่มบางส่วน (ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาฯ)
10.4.2 การประเมินภาษีเรียกเก็บภาษีการรับมรดกโดยเจ้าพนักงานประเมิน
(1) กรณียื่นแบบและชาระภาษีภายในกำหนดเวลา (150 วัน) เจ้าพนักงานประเมินต้องประเมินภาษีให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ยื่นแบบ (ขยายได้ไม่เกิน 3 ปี) โดยไม่ให้คิดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มหากมีภาษีที่ต้องเสียเพิ่มและได้ชาระภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
(2) กรณีไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเวลา เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีภายใน 10 ปีนับแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
10.4.3 เบี้ยปรับ
(1) ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลา เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชาระ
(2) ยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ครบถ้วนหรือไม่ตรงต่อความเป็นจริง อันเป็นเหตุให้จานวนภาษีที่ต้องเสียขาดไป เสียเบี้ยปรับอีก 0.5 เท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียเพิ่ม
(3) เบี้ยปรับอาจงดหรือลดลงได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
10.4.4 เงินเพิ่ม
(1) ไม่ชาระภาษีให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลา ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชาระ โดยไม่รวมเบี้ยปรับ
(2) กรณีที่ได้รับอนุญาตให้เลื่อนกำหนดเวลาการชาระภาษี และได้ชาระภาษีภายในกาหนดเวลาที่เลื่อนให้นั้น เงินเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษของเดือน
(3) การคำนวณเงินเพิ่ม ให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบจนถึงวันที่ชาระภาษี แต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจานวนภาษีที่ต้องชาระ
10.5 การขอคืนภาษี
10.5.1 ยื่นคำร้องขอคืนภาษีได้ภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ชาระภาษีทั้งหมด ณ สานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
10.5.2 เจ้าพนักงานประเมินต้องตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน นับแต่วันได้รับคาร้อง และมีหนังสือแจ้งผู้ยื่นคำร้องภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ
10.5.3 กรณีที่ต้องคืนภาษี ให้คืนเงินภาษีให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ
10.5.4 ผู้ขอคืนไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยจากเงินภาษีที่คืน
10.6 การอุทธรณ์
10.6.1 กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับผลการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินภาษี
10.6.2 คณะกรรมการอุทธรณ์ ต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ (ขยายได้ไม่เกิน 90 วัน) และให้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นหนังสือภายใน 15 วัน นับแต่วันมีคำวินิจฉัย
10.6.3 ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องต่อศาลภาษีอากร ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัย หรือพ้นกำหนดเวลาหากคณะกรรมการอุทธรณ์พิจารณาไม่แล้วเสร็จภายใน 180 วัน หรือ 90 วันที่ได้ขยาย โดยไม่ต้องรอฟังผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์
10.6.4 คณะกรรมการอุทธรณ์ประกอบด้วย อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทนเป็นประธาน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง เป็นกรรมการ
10.7 บทกำหนดโทษ
10.7.1 ไม่ยื่นแบบโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท
10.7.2 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมิน หรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมิน หรือของประธานคณะกรรมการอุทธรณ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10.7.3 ทำลาย ย้ายไปเสีย ซ่อนเร้น หรือโอนทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดไปให้แก่บุคคลอื่น ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 400,000 บาท ทั้งนี้ ในกรณีผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคลให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนนิติบุคคล ผู้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคล รับโทษ
10.7.4 จงใจยื่นข้อความเท็จ หรือให้ถ้อยคำเท็จ หรือตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือโดยความเท็จ โดยเจตนาละเลย โดยฉ้อโกงหรือใช้อุบายโดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หรือแนะนำหรือสนับสนุนให้บุคคลอื่นใดกระทาการดังกล่าว ต้องระวางโทษจาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10.7.5 เจ้าพนักงานรู้ข้อมูลของผู้มีหน้าที่เสียภาษี หรือของผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วนำออกแจ้งแก่บุคคลใดหรือทาให้รู้โดยวิธีใด หรือปล่อยปละละเลยให้ข้อมูลดังกล่าวรู้ถึงบุคคลที่ไม่มีหน้าที่ต้องรู้ โดยไม่มีอานาจกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 สองแสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ